การดูแลสุขภาพ สำหรับโรคเบาหวาน
เบาหวาน เป็นภาวะที่ร่างกายมีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เนื่องจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน
ส่งผลให้กระบวนการดูดซึมน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงานของเซลล์ในร่างกายมีความผิดปกติ
หรือทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จนเกิดน้ำตาลสะสมในเลือดปริมาณมาก
หากปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะนี้เป็นเวลานานจะทำให้อวัยวะต่าง ๆ เสื่อม
เกิดโรคและอาการแทรกซ้อนขึ้น หากมีอาการเหล่านี้ ควรได้รับการตรวจน้ำตาลในเลือด
อาการของโรคเบาหวาน
ปัสสาวะบ่อย ถึงบ่อยมาก เนื่องจากกระบวนการกรองน้ำตาลในเลือดที่สูงมากออกมากทางปัสสาวะ
ไตจำเป็นต้องดึงน้ำออกมาด้วย จึงทำให้ ต้องตื่นมาเข้าห้องน้ำตอนกลางคืนหลายครั้ง
คอแห้ง กระหายน้ำ เป็นผลมาจากการที่ร่างกายเสียน้ำไปจากการปัสสาวะบ่อย
หิวบ่อย กินจุ น้ำหนักลด ร่างกายอ่อนเพลีย เนื่องจากภาวะขาดอินซูลิน
ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดไปใช้เป็นพลังงานได้
ร่างกายจึงจำเป็นต้องนำเอาโปรตีนที่เก็บสะสมไว้ในเนื้อเยื่อมาใช้แทน
ตามัว ชาปลายมือ ปลายเท้า
ผิวแห้ง คัน เป็นแผลง่าย หายยาก
ระดับน้ำตาลในเลือดดูอย่างไร
ระดับน้ำตาลในเลือด หลังงดอาหารที่มีพลังงานเป็นเวลา 8-12 ชั่วโมง
ระดับน้ำตาลในเลือด อยู่ระหว่าง 70-100 คุณอยู่ในภาวะปกติ
ระดับน้ำตาลในเลือดเท่ากับ 100 – 125 คุณมีภาวะความเสี่ยง
ระดับน้ำตาลในเลือด มากกว่า 126 คุณมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง สำหรับโรคเบาหวาน
ขนมหวาน อาหารทอด อาหารมัน น้ำหวาน น้ำอัดลม น้ำผลไม้ผสมน้ำตาล เครื่องดื่มชูกำลัง
เครื่องดื่มแอลกฮอล์ นมข้นหวาน นมรสหวาน
ผลไม้รสหวานจัด เช่น ลำไย ลิ้นจี่ ทุเรียน น้อยหน่า ละมุด ขนุน อ้อย
ผลไม้เชื่อม กวน ดอง แช่อิ่ม ตากแห้ง อบน้ำผึ้ง รวมทั้งผลไม้กระป๋อง
การดูแลตัวเอง สำหรับเบาหวาน
ทานให้ครบ 5 หมู่ แต่ให้ลดพลังงาน น้ำตาล และไขมันที่ทาน
เลือกทานคารโบไฮเดต ที่มีเส้นใยอาหารสูง เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ขนมปังโฮลวีทและธัญพืชไม่ขัดสี
ผัก ถั่ว ผลไม้ อาหารที่มีเส้นใยอาหารสูงจะย่อยช้ากว่าประเภทอื่นๆ ซึ่งจะช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดคงที่
ควรทานผักวันละ 3-4 ทัพพีทั้งผักสดและผักสุก โดยเฉพาะผักชนิดใบ
ลดการรับประทานผักที่เป็นหัวใต้ดินหรือมีแป้งสะสมเยอะ เช่น ฟักทอง หัวแครอท
ผลไม้ทุกชนิดมีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ ควรเลือกทานผลไม้ที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ 1 ชนิดต่อมื้อ วันละ 2-3 ครั้ง
แทนการกินขนมหวาน เช่น ฝรั่ง แอปเปิ้ล แก้วมังกร สตรอเบอร์รี่ ส้ม ชมพู่ สาลี่ กล้วยน้ำว้า(ห่าม) เป็นต้น
เลือกทานอาหารที่มีไขมันต่ำ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีกะทิ เบเกอรี่ อาหารทอดต่างๆ และเนื้อสัตว์ติดหนังติดมัน
เลือกประกอบอาหารประเภทต้ม นึ่ง ย่าง อบแทนการทอด
แต่ละมื้ออาหารควรห่างกัน 4 – 5 ชั่วโมง ไม่งดอาหารมื้อใดมื้อหนึ่ง เลี่ยงการกินจุบจิบ
หลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลหรือแป้งสาลีขัดสี เช่น ขนมหวาน ขนมขบเคี้ยว รวมทั้งเครื่องดื่มที่มีการเติมน้ำตาล
สามารถใช้น้ำตาลเทียมใส่เครื่องดื่มและอาหารแทนได้
ดูแลน้ำหนักตัวอย่าให้อ้วน และ การออกกำลังกาย
|