โรคหัวใจขาดเลือด
โรคหัวใจขาดเลือด เป็นอีกหนึ่งโรคที่คนไทยเป็นกันจำนวนมาก โรคนี้เกิดจากหลอดเลือดแข็งตัว
เพราะมีไขมันสะสมในผนังด้านในของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบหรือแคบลง
จนปิดกั้นการไหลเวียนของเลือด ส่งผลต่อเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ
ทำให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือดเกิดขึ้น
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หรือโรคหัวใจวาย เกิดจากลิ่มเลือดที่อุดตันหลอดเลือดหัวใจ
ทำให้ไม่มีเลือดไปเลี้ยงหัวใจ ส่งผลให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นตาย หรือหัวใจบีบเลือดได้ไม่ดี
ส่งผลต่อการเต้นของหัวใจที่ผิดจังหวะ และเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้น้อยลงทำให้เสียชีวิตในที่สุด
โรคนี้พบมากในผู้สูงอายุ เพราะเส้นเลือดไม่ค่อยแข็งแรงทำให้ตีบตันได้ง่าย
และพฤติกรรมส่วนตัวก็ส่งผลได้ เช่น สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ออกกำลังกาย
รวมไปถึงปัจจัยทางพันธุกรรมก็มีผลด้วย
หัวใจเต้นผิดจังหวะ
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นอาการที่หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะตามธรรมชาติ อาจเต้นเร็วเกินไปหรือช้าเกินไป
ทำให้การสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
ถือว่าหนึ่งในโรคหัวใจที่พบได้บ่อยชนิดหนึ่ง และยังเป็นโรคที่พบได้ในทุกช่วงวัย
ซึ่งความรุนแรงของโรคอาจผลให้ผู้ป่วยมีภาวะเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลว ทำให้เสียชีวิตแบบกะทันหัน
ปัจจัยช่วยลดความเสี่ยง การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
เลือกอาหารที่ทำให้สุขภาพดี และลดการบริโภคอาหารหวานจัด เค็มจัด มันจัด
ควบคุมน้ำหนักตัว อย่าให้อ้วน โดยรักษาดัชนีมวลกายให้อยู่ระหว่าง 18.5 - 24.9
ควบคุมความดันโลหิต น้อยกว่า 140 บน 90 ล่าง mmHg
ควบคุมระดับคอเลสเตอรอล น้อยกว่า 200
ควบคุมระดับไขมัน แอลดีแอล คอเลสเตอรอล น้อยกว่า 150
ควบคุมระดับไตรกลีเซอไรด์ น้อยกว่า 150
งดการสูบบุหรี่ และลดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ
ออกกำลังกาย
ทำจิตใจให้ร่าเริง แจ่มใส ลดความเครียด
การดูแลตัวเมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจ
จำกัดไขมันและอาหารที่มีคอเลสเตอรอล
หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็มจัด และหวานจัด
เน้นอาหารที่มีเส้นใยสูง ช่วยลดการดูดซึมไขมัน ป้องกันท้องผูก
หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มประเภทชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
อาหาร สำหรับโรคหัวใจ
ปลาทะเล ลดการอักเสบหลอดเลือดแดง
ควรกินปลาทะเล เช่น ปลาแซลมอน ปลาทู ปลาซาร์ดีน เพราะเป็นปลาที่มีไขมันโอเมก้า 3
ช่วยลดการอักเสบของหลอดเลือดแดง ซึ่งเป็นอาการเริ่มต้นสู่การเป็นโรคหัวใจ
และนอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงไขมันอิ่มตัว เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันจากสัตว์ หรือน้ำมันจากการทอดอาหารซ้ำ
น้ำมันจากถั่วเปลือกแข็งและเมล็ดพืชที่มีกรดแอลฟา-ลิโนเลนิกสูง เช่น น้ำมันคาโนลา วอลนัต น้ำมันถั่วเหลือง
ช่วยลดความเสี่ยงของความดันโลหิตสูงได้
อะโวคาโดเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยโพแทสเซียมซึ่งเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อสุขภาพหัวใจ
ซึ่งอะโวคาโด 1 ลูก ประกอบไปด้วยโพแทสเซียม 975 มิลลิกรัม หรือประมาณ 28%
ของปริมาณโพแทสเซียมที่ร่างกายต้องการในหนึ่งวัน
หากเราได้รับโพแทสเซียมในปริมาณที่เพียงพอก็จะช่วยลดความดันโลหิตซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจได้
ผักใบเขียว ช่วยปกป้องหลอดเลือดแดง
การกินผักใบเขียวจะทำให้ร่างกายได้รับปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
เพราะผักใบเขียวอุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระ รวมไปถึงวิตามินเค
ที่มีส่วนช่วยปกป้องหลอดเลือดแดงได้นั่นเอง
เบอร์รี่ ป้องกันหลอดเลือดอุดตัน
ผลไม้จำพวกเบอร์รี่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ทั้ง วิตามินซี กรดโฟลิก โพแทสเซียม ใยอาหาร
และแอนโทไซยานิน ที่มีส่วนช่วยป้องกันความเครียด ลดการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นระหว่างอนุมูลอิสระ
กับไขมัน ช่วยป้องกันการสะสมของไขมันบริเวณผนังหลอดเลือดซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน
นอกจากนี้ยังช่วยลดการอักเสบของผนังหลอดเลือด และยับยั้งการแข็งตัวของเลือดได้อีกด้วย
ไฟเบอร์ ลดปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือด
ไฟเบอร์ที่ได้จากธัญพืชที่ไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต ข้าวสาลี ธัญพืชต่างๆ
จะช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยให้หัวใจแข็งแรง
และป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดในอนาคตได้
กระเทียม ไม่ว่าจะทำเมนูไหน กระเทียมกแทบจะเป็นวัตถุดิบหลักที่ขาดไม่ได้
และสิ่งที่เรารับรู้หรือได้ยินกันมาตลอดนั่นก็คือ กระเทียมเป็นสิ่งที่ช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอลอย่างดี
โดยการช่วยทำลายคอเลสเตอรอลและไขมันที่ติดอยู่กับผนังด้านในของหลอดเลือด และทำให้เกิดความยืดหยุ่น
เมื่อเลือดไหลเวียนสะดวก หลอดเลือดแข็งแรง ก็ส่งผลดีต่อสุขภาพหัวใจ
แปะก๊วย หนึ่งในสมุนไพรชั้นเลิศที่ขึ้นชื่อเรื่องของการบำรุงสมอง ช่วยให้มีความจำดีขึ้น
ลดอาการขี้หลงขี้ลืม เรียกว่าเป็นยาธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง
นอกจากนี้ใบแปะก๊วยก็ยังมีสรรพคุณในการช่วยขยายหลอดเลือด ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น
ช่วยป้องกันและลดการแข็งตัวของเกล็ดเลือด เพราะถ้าเลือดสาารถไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ได้ดี
ก็ถือว่าเป็นการช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวใจได้เหมือนกัน
ถั่ววอลนัท ช่วยให้เซลล์บุผนังหลอดเลือดทำงานได้ดี ช่วยป้องกันหลอดเลือดตีบ ช่วยลดคอเลสเตอรอล
และยังลดความเสี่ยงโรคหัวใจอีกด้วย
|